สรุปหนังสือ Atomic Habit — Part 1

Kanin Kearpimy
4 min readJun 20, 2021

การเปลี่ยนแปลงนิสัย สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กๆ น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ หนังสือกล่าวว่า เพียงแค่เราเปลี่ยนแปลงการกระทำของตัวเอง วันละ 1% ภายใน 1 ปี (365 วัน) ตัวเราจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก

  • 1% ที่ดีขึ้น ทุกวัน ตลอด 365 วัน จะทำให้ชีวิตดีขึ้น 37 เท่า ((1 + 0.1)³⁶⁵)
  • 1% ที่แย่ลง ทุกวัน ตลอด 365 วัน จะทำให้ชีวิตแย่ลงเช่นกัน

Case ตัวอย่าง เช่น ทีมปั่นจักยานระดับชาติของประเทศอังกฤษ ไม่ได้รางวัลอะไรเลยมา 100 กว่าปี สิ่งที่ผู้อำนวยการคนใหม่ทำหลังรับตำแหน่งคือ นโยบาย “เพียงแค่ 1% ในการเปลี่ยนแปลงเรื่องเล็กน้อย แต่ทุกเรื่อง และทุกวัน จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้” ทีมอังกฤษทำทุกอย่างที่เป็นเรื่องเล็ก เช่น เปลี่ยนสีห้องเป็นสีขาว เพื่อป้องกันฝุ่น ซึ่งอาจจะกระทบจักยาน การสอนนักกีฬาล้างมือให้ถูกต้อง เพื่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นต้น

นิสัยดีๆ ที่ควรสะสม

  • สะสมความรู้
  • สะสมประสิทธิภาพและประสิทธิผล (เช่น ทำงานให้สำเร็จเพิ่มขึ้นวันละ 1 งาน อย่างมีคุณภาพ)
  • สะสมความสัมพันธ์ที่ดี
ความคาดหวังและความจริง เมื่อลงมือทำบางสิ่ง

หลายๆ ครั้ง ผลลัพท์เกิดมาจากการลงมือทำเล็กน้อยไปทุกๆ วัน แต่สิ่งที่คนพยายามคาดหวังคือ ลงมือทำวันนี้ = ผลลัพท์วันนี้ แต่ความจริงแล้ว การลงมือทำวันนี้ = ผลลัพท์ในอนาคตที่จะเกิด เราต้องรู้ว่า “อย่าล้มเลิกกลางคันไปเสียก่อน”

คำถาม: เราจะทำให้ตัวเองรู้สึกอยากทำ หรืออดทนที่จะทำ ในขณะที่ ผลลัพท์ยังไม่เกิดได้อย่างไร

การมีเป้าหมายต้องมาพร้อมกับการปฏิบัติที่ชัดเจน สม่ำเสมอ โดยเราจะเรียนสิ่งเหล่านี้ว่า “กระบวนการ” โดยกระบวนการเป็น set ที่ใหญ่กว่า “การปฏิบัติ” เพราะว่า มันจะบ่งบอกถึงสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น

  • หากต้องการเป็น Developer ที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมี communication skill, algoritms, data structure, clean code เป็นต้น และการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อฝึก Skill เหล่านี้คือหนทางสู่การบรรลุเป้าหมาย
  • อีกตัวอย่าง เช่น หากอยากลดน้ำหนัก จำเป็นต้อง รู้ว่าจะลดน้ำหนักเท่าไหร่ การคุมน้ำหนัก การคุมอาหาร การเล่น cadio, weigh training และการมีทัศนคติที่ดี เป็นต้น

ผู้เขียนชี้ว่า หากเราไม่มีเป้าหมาย แต่ลงมือทำอย่างเดียว จะสามารถประสบความสำเร็จได้แน่นอน ในส่วนตัว เรามองว่าอาจจะไม่สำเร็จขนาดนั้น เพราะหากมีกระบวนการปฏิบัติ และลงมือทำจริง แต่หากไม่รู้ว่าจะไปสุดตรงไหน ก็จะสับสนอยู่ดี และบางทีกระบวนการ ก็อาจจะเกิดได้ หลังเรามีเป้าหมาย เช่น

หากเราลงมือแต่การ Coding แต่ไม่รู้ว่าจะไปเป็น CTO, หรือ Senior กันแน่ เราก็ไม่รู้เลยว่าการจะ balanced coding & management skill ต้องให้ฝั่งไหนมากกว่ากัน

ทำไมการมีเป้าหมายอย่างเดียวจึงไม่ตอบโจทย์?

  1. ผู้ชนะและผู้แพ้ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน — เพียงแต่คนชนะลงมือทำมากกว่าและมีกระบวนการที่ถูกต้องกว่า
  2. การบรรลุเป้าหมายเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวเท่านั้น — เช่นหากเราวิ่ง sprint ให้เข้าเส้นชัย เราก็จะวิ่งเร็วแค่ช่วงนึง
  3. เป้าหมายจำกัดความสุขของคุณ — ถ้าสำเร็จ….ฉันจะ…. เป็นการตีกรอบ แต่ถ้าโฟกัสแค่กระบวนการลงมือทำ มันจะไม่มีกรอบว่าอะไรคือ “ถึงแล้ว หยุดได้แล้ว”
  4. “เป้าหมาย” อาจขัดแย้งกับความก้าวหน้าในระยะยาว — เป้าหมายเปลี่ยนได้ตลอด แต่เราต้องสร้างกระบวนการ (นิสัย) ให้ใช้ได้ตลอดชีวิต

เป้าหมาย กระบวนการ และตัวตน

หากแบ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็น 3 ระดับจะวาดได้ดังวงกลมด้านล่าง

  • การเปลี่ยนแปลงอิงผลสัมฤทธิ์ : การมีเป้าหมาย และหากทำตามเป้าหมายได้ จะเห็นผลลัพท์ เช่น การลดน้ำหนัก การอ่านหนังสือให้ได้ 10 เล่มต่อเดือน
  • การเปลี่ยนแปลงกระบวนการ : เชิงอุปนิสัย เช่น การเป็นคนรักสุขภาพ การเป็นคนชอบอ่านหนังสือ
  • การเปลี่ยนแปลงเชิงอัตลักษณ์ : เชิงทัศนคตติ และการมองโลก ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับจิตใต้สำนัก เช่น การรักสุขภาพ จะส่งผลให้ชีวิตในอีก 60 ปีดีกว่าปัจจุบัน (เป็นในเชิงความเชื่อ การมองตัวเอง การเคารพตัวเอง)

จะอธิบายอย่างไรขั้นที่ 2, 3 ต่างกันอย่างไรเชิงจับต้องได้?

หากต้องการผลสัมฤทธิ์ การเชื่อว่า “คนแบบไหน” ที่จะทำผลลัพท์ดังกล่าวได้ เป็นการกำหนดมุมมองใหม่ๆ ให้ตัวเองได้ดีกว่า ตัวอย่างเช่น คนพยายามเลิกบุหรี่ 2 คน คนแรกมองว่าตัวเองพยายามเลิกบุหรี่ แต่คนที่สองมองว่าตัวเองไม่ใช่คนสูบบุหรี่อีกต่อไป

คนที่สองจะเห็นว่าตัวเองควรทำอย่างไร เพื่อให้กลายเป็นคนไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นเรื่องเล็ก ที่จะส่งผลใหญ่หลวงมาก (ลองคิดสภาพว่า การเป็นคนไม่สูบบุหรี่ จะมองว่าบุหรี่เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ไม่ใช่สิ่งที่ต้องหลีกหนี ในหลายครั้งเราหนีพ้น แต่การมองว่าน่าเกลียดจะทำให้เราไม่ยุ่งกับมันเลย)

เบื้องหลังความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือการเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่มีต่อตัวเอง

ทุกการกระทำคือสิ่งที่โน้มเอียงไปสู่สิ่งที่คุณปราถนา

การกระทำเพียงเล็กน้อย จะค่อยๆ ส่งผลให้คุณเป็นคนอย่างที่ต้องการ ดังนั้นจงเลือก “คนที่คุณอยากเป็น” ก่อน

  1. ตัดสินใจเลือกแบบฉบับของคนที่คุณอยากเป็น
  2. พิสูจย์ให้ตัวคุณเองเห็นจากความสำเร็จ ที่ละเล็กๆ น้อยๆ ไปเรื่อยๆ

ตัวอย่าง: คนที่จะเขียนหนังสือเป็นเล่มได้ คือคนที่สม่ำเสมอและเชื่อถือได้ ดังนั้นเมื่อเลือกจะเป็นคนแบบนี้ ความสนใจจะไม่ใช่ว่า “จะเขียนวันละ 10 หน้าอย่างไร” แต่จะกลายเป็น “จะเขียนหนังสือให้สม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างไร”

พฤติกรรมที่นำมาซึ่งผลลัพท์อันน่าพึ่งพอใจ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำ

สมองมีวิธีการสร้างนิสัย จากการ “ลงมือทำ ผิดพลาด เรียนรู้” โดย “การกระทำ” ใดก็ตามที่ได้ผลลัพท์เป็น “รางวัล” เชิงบวก เช่น คนที่ชอบอ่านหนังสือแต่เด็ก อาจจะเป็นเพราะได้รับคำชม หรือรางวัลบางอย่าง ซึ่งน่ากังวลมากหากให้รางวัลผิดทาง (เช่น เด็กที่ถูกสปอย อาจจะเพราะตอนเด็กเขารับรู้ว่าการเอาแต่ใจนั้นจะได้รับรางวัล)

นิสัยคือกฎที่เตรียมไว้สำหรับปัญหาแบบเดิมๆ: หากมนุษย์เจอสถานณ์การใดๆ ที่
ไม่เคยเจอ คนจะลองผิดลองถูกเพื่อแก้ปัญหา และเมื่อมีการกระทำที่ถูกต้อง
(ได้รับรางวัล) สมองจะจดจำกระบวนการนั้น และใช้วิธีเดิมๆ แก้ไขปัญหาแบบเดิม จนในที่สุดจะกลายเป็นนิสัย

นิสัยทำงานอย่างไร?

โดยปกติจะมี 4 ขั้นตอนที่ก่อให้เกิดนิสัยได้แก่

  1. ปัจจัยกระตุ้น
  2. ความปรารถนา
  3. การตอบสนอง
  4. รางวัล
ขั้นตอนของการเกิดนิสัย

ปัจจัยกระตุ้น คือสิ่งที่ทำให้เราเห็น “รางวัล” เช่น เมื่อหิว เราจะหาอาหาร “หิว” คือปัจจัย ส่วน “อาหาร” คือรางวัล ลองยกตัวอย่างให้ซับซ้อนขึ้นอีกหน่อย หากเราเป็นคนชอบอ่านหนังสือ (รางวัล) เมื่อเราเดินผ่านร้านหนังสือ (ตัวกระตุ้น) เราจะให้ความสนใจกับสิ่งนั้น

ความปรารถนา คือความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังรางวัล เช่น หากรางวัลคือการอ่านหนังสือ จริงๆ ความปรารถนาอาจจะเป็นเพราะ “อ่านแล้วรู้สึกดี หรือรู้สึกเป็นที่ยอมรับ”

การตอบสนอง คือ สิ่งที่แสดงออกมาเมื่อได้รับรู้ความปรารถนา เราเรียกสิ่งนี้ว่า “นิสัย” เช่น เมื่อรับรู้ได้ว่าการอ่านหนังสือยาก ๆ จะทำให้สอบได้คะแนนดี และความปรารถนาของเราต่อการได้คะแนนดี มีมากพอ เราจะ “อ่านหนังสือ” ซึ่งเมื่อทำซ้ำๆ ก็จะเกิดเป็นนิสัยขึ้นมาได้

รางวัล คือ สิ่งที่เราคิดว่า เมื่อได้มันมาแล้วมันจะทำให้เรา “พึงพอใจ” และ “ทบทวนกระบวนการ” จากมัน โดยในตัวรางวัลนั้นย่อมมีความพึงพอใจแน่นอน เช่น อ่านหนังสือทำให้เกิดความสุข

หากการพบเจอ ร้านหนังสือ (ปัจจัยกระตุ้น) ทำให้เกิดความอยากอ่านหนังสือเพราะรู้สึกดี (ความปรารถนา) นำไปสู่การรีบเดินไปร้านหนังสือและหยิบมาอ่าน (การตอบสนอง) เมื่ออ่านหนังสือแล้ว ก็รู้สึกดีจริงๆ (รางวัล) สมองจะจดจำว่ากระบวนการข้างต้นเป็นสิ่งที่ดี ซึ่ง “สะท้อน” กลับไปหาสมองว่า การทำแบบนี้ดีนะ และเราจะมีแนวโน้มทำกระบวนการซ้ำๆ ไปจนกระทั่งมันกลายเป็นนิสัย ดังรูปด้านล่าง

วงจรการเกิดนิสัย

หากเราแบ่ง 4 ขั้นตอนด้านบนเป็น 2 ช่วง จะกลายเป็น

  1. ช่วงของปัญหา: ปัจจัยกระตุ้นและความปรารถนา
  2. ช่วงของการแก้ไขปัญหา: การตอบสนองและรางวัล

ตามตารางด้านล่าง

แบ่งช่วงของวงจรนิสัย

คำว่าปัญหาอาจจะส่งผลในเชิงที่ดี และไม่ดีก็ได้ เช่น

ตัวอย่างในชีวิตจริง

กฎ 4 ข้อที่จะช่วยสร้างนิสัย หรือ เปลี่ยนนิสัย

หากเป็นนิสัยที่ดี

  1. ต้องทำให้ชัดเจน
  2. ต้องทำให้น่าดึงดูด
  3. ต้องทำให้เป็นเรื่องง่าย
  4. ต้องทำให้เป็นที่น่าพึงพอใจ

หากเป็นนิสัยไม่ดี

  1. ต้องทำให้มองไม่เห็น
  2. ต้องทำให้ไม่น่าดึงดูดใจ
  3. ต้องทำให้เป็นเรื่องยาก
  4. ต้องทำให้ไม่น่าพอใจ

กฎข้อที่ 1 ต้องทำให้ชัดเจน

กระบวนการสำคัญสำหรับการเปลี่ยนนิสัยคือ การมีสติรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เริ่มได้จากการลองวิเคราะห์นิสัยในแต่ละวันของเราออกมาตั้งแต่ตื่นนอน — นอนหลับ จากนั้นข้อใดเป็นนิสัยที่ดีให้ทำเครื่องหมาย (+) ข้อไหนไม่ดีให้ทำเครื่องหมาย (-) ข้อใดกลางๆ ให้ทำเครื่องหมาย (=)

  • ตื่นนอน 9–10 โมงเช้า (-)
  • หยิบโทรศัพท์มาเปิดเล่น Facebook (-)
  • ไปอาบน้ำ แปลงฟัน (+)
  • เปิดคอม นั่งเช็ค Habitica (+)
  • กินข้าวกลางวันรวมกับข้าวเช้า (=)
  • ทำงาน (+)
  • ไปเดินเล่นข้างนอก (=)
  • กินข้าวเย็น (+)
  • อ่านหนังสือ (+)
  • เล่นเกมส์ (=)
  • เช็ค Habitica และ ClickUp (+)
  • Relax (+)
  • นอนตอน ตี 2 — ตี 3 (-)

ซึ่งนิสัยที่ดี ไม่ดี กลางๆ จะมีตัวชี้วัดตาม “เป้าหมาย” ของตัวเองในตอนนั้น ไม่มีนิสัยที่ดีหรือไม่ดี มีแต่สิ่งที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดผลลัพท์ตามเป้าหมาย

เทคนิค 1: การชี้และส่งเสียง สามารถช่วยเพิ่มการรับรู้ได้

หากรู้ตัวว่ากำลังจะทำนิสัยไม่ดี เช่น กินขนมที่ทำให้อ้วน ให้ลองพูดออกมาดังๆ ว่า “เรากำลังจะกินขนมที่ทำให้อ้วนนะ ซึ่งไม่ดีเลยเพราะน้ำหนักจะขึ้น และก็ต้องมานั่งกลุ้มใจอีก”

ในขณะเดียยวกันหากกำลังทำนิสัยที่ดี เช่น กำลังจะไปวิ่งออกกำลังกาย ก็สามารถทำได้เช่นกันว่า “กำลังจะไปวิ่งแล้ว ดีจริงๆ เพราะทำให้สดชื้นและสุขภาพดีใจระยะยาวอีก”

สิ่งใดก็ตามที่เราทำซ้ำๆ จะเป็นสิ่งที่สมองจดจำ และเมื่อทำไปนานๆ เราจะลืมว่าเรากำลังทำสิ่งนั้น เช่น หากกำลังนั่งตัดกระดาษอยู่ แล้วมีคนยื่นบัตรประชาชนมา เราก็อาจจะเผลอตัดบัตรประชาชน เพราะสมองทำการตัดกระดาษ จนมันคาดหวังว่าชิ้นส่วนต่อไปจะต้องเป็นกระดาษ

ทุกพฤติกรรมมีปัจจัยกระตุ้นพื้นฐาน ซึ่ง 2 ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ “เวลาและสถานณ์ที่”

โดยหากอยากทำสิ่งใด ควรกำหนด เวลาและสถานณ์ที่ ให้ชัดเจนออกมาเป็นประโยค (แนะนำให้เขียนและพูดออกมาดังๆ) เราจะเรียกสิ่งนี้ว่า ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

รูปแบบ: เมื่อสถานการณ์ A เกิดขึ้น เราจะแสดงพฤติกรรม B เพื่อตอบสนอง

ฉันจะทำ ……………… ในวัน/เวลา ………………. ณ ………………….

เช่น สัปดาห์หน้าเราจะออกกำลังกาย 20 นาที ในวันที่ …… เวลา ……

เทคนิค: หากจะกำหนดช่วงเวลา แนะนำให้ลองทำในช่วง “แรก” ของเวลา เช่น ตอนตื่นนอน วันแรกของอาทิตย์ วันแรกของเดือน ของปี เป็นต้น

การได้รับสิ่งของ/ประสบการณ์ใหม่ๆ อย่างหนึ่ง จะนำไปสู่การอยากได้รับสิ่งของ/ประสบการณ์อื่นๆ ตามมา

เสมือนถ้าเราซื้อหนังสือหนึ่งเล่ม แล้วรู้สึกว่าควรจะซื้อปกหนังสือ ซื้อปากกาเน้นความสำคัญ หรือซื้อหนังสืออื่นๆ ที่อ่านเข้ากันได้ เรื่องนี้สามารถนำมาใช้กับนิสัยได้ด้วย เช่น หากเรารู้สึกว่ามือไม่สะอาด > ก็จะไปล้างมือ > หาผ้ามาเช็ดมือ เราเรียกสิ่งนี้ว่า “การต่อยอดพฤติกรรม”

สามารถใช้ประโยชน์ได้ จากการที่พยายามวิเคราะห์นิสัยปัจจุบัน และนำมันมาเป็น trigger ให้เกิดนิสัยที่เราต้องการ เช่น

  • “หากเราเริ่มรู้สึกว่าขี้เกียจ เราจะลุกไปอาบน้ำทันที”
  • “หากได้ลืมตาตื่นแล้ว เราจะลุกขึ้นไปยืดเส้น ยืดสายในทันที”
การนำพฤติกรรมหนึ่ง เป็นตัวกระตุ้นของพฤติกรรมต่อไป

โดยหากสามารถระบุรายละเอียดได้ชัดเจนมากขึ้น (ตัวกระตุ้น, เวลา, สถานณ์ที่, จำนวน) จะสามารถทำให้พฤติกรรมง่ายต่อการจดจำ และนำไปปฏิบัติและสร้างได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ตัวอย่าง: หลังจากเราอาบน้ำและใส่เสื้อผ้าเสร็จ เราจะหาที่นั่งสบายๆ และหยิบหนังสือที่ตั้งใจไว้มาอ่าน หลังจากอ่านได้จนรู้สึกว่า “พอ” ให้นำสิ่งที่อ่านมาสรุปลง Medium ในทันที

คนเราเลือกสินค้าไม่ใช่เพราะมัน “คืออะไร” แต่เพราะมันอยู่ “ที่ไหน” ต่างหาก

สภาพแวดล้อมส่งผลกับการตัดสินใจของเรา เราสามารถควบคุมสภาพแวดล้อม เพื่อให้มันส่งเสริมกับเป้าหมายและความต้องการได้ โดยประสาทสัมผัสที่ใช้มากสุดคือสายตา ดังนั้นสิ่งใดที่อยู่ใน ระดับสายตาจะมองเห็น (เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้เอง) จะกลายเป็นปัจจัยกระตุ้นต่อเรื่องอื่นๆ ได้

ประยุกต์ใช้งาน: จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเป้าหมาย หรือนิสัยที่ต้องการสร้าง เช่น

  • หากต้องการเป็นคนอ่านหนังสือเยอะ ควรจัดหนังสือไว้ใกล้ๆ ตัว เช่น บนหัวเตียง ที่สามารถหยิบมาอ่านได้ทันที
  • หากต้องการเป็นคนสุขภาพดี ให้วางอาหารสุขภาพให้เห็นได้ชัดเจนในห้องครัว หรือวางชุดออกกำลังกายไว้เป็นชุดแรกสุดในตู้เสื้อผ้า
  • หากอยาก Coding ให้ได้ทุกวัน ให้ตั้ง pop up browser เป็นเว็บสำหรับฝึก coding

เราสามารถเชื่อมโยงนิสัย เข้ากับบริบทได้

หากเรากำลังต้องการอ่านหนังสือ เป็นเรื่องยากที่จะทำในสถานณ์ที่รบกวนสมาธิ ซึ่งแน่นอนว่า หากเราทำนิสัยบางอย่างขัดกับบริบทที่ควรจะเป็น นิสัยนั้นๆ จะสร้างได้ยาก เช่น หากเราต้องการเป็นคนนอนเร็ว แต่ชอบเล่นโทรศัพท์บนเตียงนอน สมองจะคิดว่า เตียงนอนไม่ใช่แค่ที่สำหรับนอน และทำให้ความรู้สึกง่วงมียากขึ้น

เทคนิค: หนึ่งพื้นที่ หนึ่งการใช้สอย คือ การแบ่งส่วนของสถานณ์ที่เข้ากับพฤติกรรม เช่น ห้องทำงานไว้สำหรับทำงานเท่านั้น หากจะทานข้าว หากนำไปทานในห้องทำงานเด็ดขาด การแบ่งนี้ยังสามารถทำได้กับเรื่องอื่นที่ไม่ใช่สถานณ์ที่ด้วย เช่น เมื่อใช้งาน Facebook เราจะใช้เพื่อแชร์เนื้อหาที่เกี่ยวกับทั้งงาน และเรื่องส่วนตัว แต่หากใช้งาน IG จะโฟกัสแต่เรื่องสนุกๆ ส่วนตัว เท่านั้น

หากต้องการสร้างพฤติกรรมที่แน่นอนและคงที่ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้มั่นคงและแน่นอน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

หากต้องการจำจัดนิสัยที่ดี ให้เรากำจัดปัจจัยกระตุ้นต่อนิสัยที่ไม่ดีนั้นออกไปในสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ เช่น

  • เป็นคนที่ทำงานที่บ้านแล้วชอบนอนกลางวัน -> เพราะโต๊ะทำงานอยู่ติดเตียง -> ลองย้ายโต๊ะทำงานไปที่ๆ ไกลจากเตียง หรือสิ่งที่จะทำให้นอนได้
  • เป็นคนชอบกินของกลางดึก -> นำตู้เย็น หรือสิ่งที่จะทานได้ออกไปไว้ไกลตา หรือนำไปซ่อน
  • ถ้าทำท่าเหมือนจะทำงานไม่เสร็จซักอย่าง -> ให้ลองนำโทรศัพท์ไปวางไว้ ไกลตัว และหันมาโฟกัสทำงาน

*การข่มจิตใจ เพื่อไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ควร ต้องอาศัยการฝึกฝน และการฝึกฝนที่ดีคือการทำในสถานณ์ที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

เราสามารถใช้นิสัยที่อยากทำเป็นอันดับแรก มาช่วยเสริมนิสัยที่เราอยากสร้างได้

โดยการใช้เหตุการณ์บางอย่างเป็นตัวกระตุ้น และบังคับให้ตนเองทำสิ่งที่ต้องทำ แล้วจึงตามด้วยสิ่งที่อยากทำ เช่น หากต้องการเป็นคนสวดมนต์ก่อนนอน แต่ก่อนนอนชอบเล่นโทรศัพท์ สามารถทำได้ดังนี้

เมื่อฉันเปิดประตูเข้ามาในห้อง ฉันจะสวดมนต์ก่อนนอน จากนั้นฉันจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น

  • การเปิดประตู คือการปัจจัยกระตุ้น
  • การสวดมนต์ คือนิสัยที่ต้องทำ
  • การหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น คือนิสัยที่อยากทำ

สามารถสร้างเป็นรูปแบบได้ดังนี้

เมื่อเกิด………[เหตุการณ์/พฤติกรรม] ฉันจะไปทำ……[สิ่งที่ต้องทำ] หลังจากนั้นฉันจะทำ……..[สิ่งที่อยากทำ]

--

--

Kanin Kearpimy

Software Engineer who passionate in Machine Learning. Love Mathematic, Programming, Public Speaking, and Writing.